ประกาศรับสมัครงาน

สถิติผู้เยี่ยมชม

439527

นทท.ชาวสวน รุมค้าน ชื่อผลไม้พันธุ์ใหม่เมืองลับแล ว่า "ลองกอง" งานเทศกาลประจำปี ควรเรียก"ลางกอง"รสชาติหวานอมเปรี้ยว แห่ต่อกิ่งเกือบเป็นตำนาน

         นทท.ชาวสวน รุมค้าน ชื่อผลไม้พันธุ์ใหม่เมืองลับแล ว่า "ลองกอง" งานเทศกาลประจำปี ควรเรียก"ลางกอง"รสชาติหวานอมเปรี้ยว แห่ต่อกิ่งเกือบเป็นตำนาน

           นักท่องเที่ยวและชาวสวนรุมค้านเรียกชื่อผลไม้พันธุ์ใหม่เมืองลับแลว่า "ลองกอง" ในงานเทศกาลประจำปี ควรเรียก"ลางกอง"มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวต่างจากพันธุ์เดิมหวานฉ่ำ เกษตรกรคิดค้นพันธุ์เมื่อ 40 ปีก่อน ลูกโตราคาแพง 120 บาท/กิโลกรัม สร้างรายได้ให้เกษตรกรกว่า 100 ล้าน ต่อกิ่งจนเกือบสูญพันธุ์จากสวน เหลือพื้นที่ปลูกเพียง12%  "ลางสาด" หวิดเป็นตำนานหลังปลูกมานานกว่า 200 ปี 

         เมื่อวันที่ 21 กันยายน 61 นายชยธร  ทองนุ่น  อายุ 58 ปี ชาวพัทลุง นักท่องเที่ยวจากภาคใต้ กล่าวว่า เดินเที่ยวงานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน สินค้า OTOP อุตรดิตถ์ ประจำปี 2561 ที่บริเวณสนามกีฬาพิชัยดาบหัก หน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 14-23 กันยายน 61 โดยปกติชอบบริโภคผลไม้ลองกอง มีปลูกและขายมากในพื้นที่ภาคใต้ ลักษณะลูกเปลือกหนาแกะง่ายไม่มียาง รส ชาติหวานอร่อย เดินหาซื้อภายในงานพบป้ายชื่อบอก "ลองกอง" ราคากิโลกรัมละ 25-35 บาท ทดลองชิมก่อนซื้อพบมีรสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน ต้องการให้ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ ปรับเปลี่ยนข้อความใหม่จาก "ลองกอง" ให้เป็น "ลางกอง"แทน เพื่อให้เกียรติชาวสวนที่คิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ในปี 2562 ควรใช้ชื่อ "งานเทศกาลลางสาดและลางกองหวาน สินค้า OTOP อุตรดิตถ์" 

         ขณะที่ นายบัญชา อรุณเขต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ นายสุชาติ ปินจันทร์ ประธานคณะทำงานด้านไม้ผลสภาเกษตรกร และ นายดำเนิน  เชียงพันธ์ คณะทำงานด้านไม้ผล พร้อม น.ส.จารุวรรณ  บุญเดช นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบไม้ผลประเภทลางสาดและลางกอง พื้นที่สวนผลไม้ของเกษตรกรตำบลแม่พูลและตำบลนานกกกของอำเภอลับแล เพื่อดูผลผลิตลาง สาดและลางกองกำลังให้ผลออกสู่ท้องตลาดขณะนี้ ตรวจสอบปริมาณต้นลางสาดถูกต่อยอดจากกิ่งลองกองจนกลายเป็นผลไม้ชนิดใหม่หรือพันธุ์เรียกว่า"ลางกอง"เกิดจากการนำพันธุ์ไม้ 2 สายพันธุ์ อาทิ "ลองกอง" และ "ลาง สาด" มาผสมกันด้วยวิธีนำกิ่งลองกองมาต่อยอดกับต้นลางสาด อาศัยต้นลางสาดดูดซึมสารอาหารเลี้ยงลำต้น ใบ ดอกและผลที่ออกมาใหม่  จากเดิมลองกองที่มีรสชาติหวานฉ่ำ อาศัยต้นแม่จากลางสาดที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ผลที่ได้จากการนำลองกองมาต่อยอด ทำให้ลูกที่ออกมามีรสชาติหวานอมเปรี้ยว แต่ผลลูกโตใกล้เคียงกับลองกอง เป็นผลไม้สายพันธุ์ใหม่เรียกว่า "ลางกอง" การนำกิ่งมาทาบต่อเพื่อให้เกิดพันธุ์ใหม่นี้ พบเหลือพื้นที่ปลูกสางสาดแค่ 12% อนาคตหากไม่อนุรักษ์อาจสูญพันธุ์ไปจากสวนจนกลายเป็นตำนาน

          นายบัญชา กล่าวว่า ผลไม้สางสาด เป็นพืชในตระกูลเดียวกับลองกองทางภาคใต้ มีปลูกในพื้นที่อำเภอลับแลมานานกว่า 200 ปี ให้ผลผลิตสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์มานานจนเกิดเป็นคำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ดังคำขวัญที่ว่า  “เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก” ช่วงประมาณปี 2520 

          " กลุ่มเกษตรกรประกอบด้วย ลุงเมืองลับแล ลุงบุญเกิดทุ่งยั้ง ได้นำกิ่งพันธุ์ลองกองมาทดลองเสียบยอดกับต้นลางสาด ที่วัดศรีอุทุมพรคณารักษ์ เหตุผลเพราะเป็นผลไม้พันธุ์ตระกูลเดียวกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผลไม้ลองกองมีราคาสูงอยู่ที่กิโลกรัมละ 120-130 บาท หากเทียบกับผลไม้ลางสาดราคาสูงสุดอยู่ที่ 35 บาท ในบางปีราคาตกต่ำลงถึงกิโลกรัมละ 8-10 บาท สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวสวนอย่างมาก หลังทาบกิ่งนานถึง 5 ปี ผลไม้พันธุ์ใหม่เริ่มออกลูกออกผล ผลิตจำนวนมาก ลูกใหญ่โตเท่ากับลองกองมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ราคาขายอยู่ที่ 100-120 บาทต่อกิโลกรัม  สร้างรายได้ให้กับชาวสวนดีกว่าปลูกสางสาด

           ชาวสวนจึงเริ่มนำกิ่งพันธุ์ลองกองมาต่อยอดทาบขยายพันธุ์ออกไป ทั้งในเขตพื้นที่นานกกกและตำบลแม่พูล อ.ลับแล ขยายไปถึงตำบลน้ำริด อ.เมืองอุตรดิตถ์  ด้วยระยะเวลาเกือบ 40 ปี จึงทำให้ผลไม้ลางสาดลดลงหายไปจากสวนและท้องตลาดอย่างรวดเร็วจนแทบจะกลายเป็นตำนาน โดยพื้นที่ปลูกลางกองมีประ มาณ 50,000 ไร่ ให้ผลผลิตกว่า 60,000 ตัน พื้นที่ปลูกลางสาด 6,000 ไร่ ผลผลิต 6,000 ตัน เกษตรกรมีรายได้จากผลไม้ทั้ง 2 ชนิดไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท" ในงานเทศกาลผลไม้ลางสาดและลองกอง อยากเรียกร้องให้ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชาสัมพันธ์ชื่อ "ลางสาดและลางกอง" ซึ่งตรงกับพันธุ์ไม้ผลที่เกษตรกรในพื้นที่ทำอยู่ ทั้งในเรื่องของสภาพต้น รสชาติและลักษณะผลไม้ลางกอง กลมกลืนกันระหว่างผลไม้ 2 ชนิด ทั้งลางสาดและลองกอง ชื่อ "ลางกอง" ถือเป็นผลไม้ประจำถิ่นและเป็นพืชพันธุ์ใหม่ของอำเภอลับแลที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง การออกสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ควรจะเป็น "ลางกอง" ไม่ใช่ "ลองกอง"  ทั้งนี้ เตรียมนำเรื่องดังกล่าวเข้านำเสนอสู่ที่ประชุมจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเรียกชื่อ "ลางกอง" ให้สอดคล้องกับหลักความเป็นจริงของผลไม้ชนิดนี้ต่อไป นายบัญชากล่าว

 

ลางกอง21

ลางกอง11

ลางกอง31

ลางกอง01